ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา |
โรคอารมณ์แปรปรวน
โรคไบโพลาร์ (Bipolar) เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่องอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรค ซึมเศร้า โรคซึมเศร้านั้นคือ โรคอารมณ์ที่ชัดเจน ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรคไบโพลาร์ จะมีลักษณะ ที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะมีลักษณะครื้นเครง รื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง
โรคนี้มีหลายชื่อ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน , manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania) ก็ได้
โรคไบโพล่าร์นั้นมักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี แต่ก็มี บางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปีได้ โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากโดยพบว่าเมื่อลองถาม ประวัติให้ดีๆมักจะพบว่ามีคนอื่นบางคนในวงศ์ญาติป่วยเป็น โรคไบโพล่าร์และลูกหลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ได้ มากกว่าคนทั่วไป
อาการของโรค
อารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะ เป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล อาจจะมีปัญหากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน อารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และ ไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด แล้วถึงขั้นใช้อารมณ์ก้าวร้าวได้
ผู้ป่วยบางคนกลางคืนไม่ยอมหลับ ไม่ยอมนอน อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมาก มี อารมณ์ทางเพศมากขึ้น สำส่อนทางเพศ อารมณ์ดีที่มากเกินปกติและไม่สมเหตุสมผล ที่เป็นมากขึ้น ต่อเนื่องยาวกว่าหนึ่งอาทิตย์ แล้วก่อให้เกิดปัญหาคือ จุดที่ควรสงสัยว่าคนนั้นอาจเป็นโรคไบโพลาร์ ความหมายของไบโพลาร์ไม่จำเป็นต้องสลับกับช่วงซึมเศร้า บางคนเป็นโรคนี้ อยู่ช่วงหนึ่งอาจจะ ประมาณ 4-6 เดือนอาจจะสามารถกลับคืนเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องรักษา ทำให้คนรอบข้างจะ ไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา ถ้าไม่สังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อปกติแล้วเขาจะดำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึงช่วงหนึ่ง จะรื่นเริงอีก หรืออาจจะสลับไปขั้วตรงข้าม เป็นแบบซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มตั้งแต่ แยกตัว เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เบื่อๆเข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ที่สำคัญที่สุดคือการฆ่าตัว ตาย
โรคนี้ช่วงซึมเศร้าจะเหมือนกับโรคซึมเศร้า อัตราการฆ่าตัวตายคือ 15-20% เพราะฉะนั้น หนึ่งในห้ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเบื่อเศร้าและฆ่าตัวตาย ช่วงที่รื่นเริงมากๆ ก็จะมีประเด็นการฆ่าตัว ตายได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนซึมเศร้า คนไข้ที่จะป่วยเป็นโรคนี้ จากการวิจัยพบว่า จะเริ่ม เกิดอาการของโรคนี้ในช่วงวัยรุ่น แต่อาการจะไม่ปรากฏชัด ซึ่งบางทีวัยรุ่นเป็นโรคนี้อยู่แต่ไม่ปรากฏ อาการที่รุนแรง คนรอบข้างจะไม่สามารถสังเกตได้ อาจเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น อาจจะ เที่ยวกลางคืน อยากไปเตร็ดเตร่ ไม่มีสมาธิในการเรียนทำให้ผลการเรียนตกลง อาจจะมีปัญหาเรื่อง ของพฤติกรรมที่สร้างปัญหา เช่น ทะเลาะกับเพื่อนฝูง ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ใกล้ชิด เห็นแค่ปรับเปลี่ยนไป นิดหน่อย เหมือนกับไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย
แนวทางในการรักษาโรค
ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาท ที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไปและสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไปดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยา ควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
1. การรักษาในปัจจุบันนี้ ใช้ยาไปช่วยในการปรับสารสื่อนำประสาทตรงให้กลับมาทำงาน ได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่มปรับอารมณ์ให้คงที่ mood stabilizer ซึ่งจะมียาเฉพาะไม่กี่ตัว ที่จะใช้ในการรักษาที่จะช่วยอาการนี้ได้ ช่วงระยะการรักษา ช่วงแรกจะเป็นการคุมอาการให้กลับมา เป็นปกติที่สุดภายใน 1 สัปดาห์ก่อน หรืออย่างช้า 1 เดือน หลังจากนั้น จะเป็นการรักษาต่อเนื่องอาจ ต้องใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับอาการคนไข้เป็นสำคัญ ในคนไข้บางราย 1 ปี อาจ มาพบหมอแค่ 2-4 ครั้งเท่านั้น ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลตลอด
2. ยาหลักที่นิยมใช้รักษาและได้ผลดี คือ lithium ควบคุมอาการ mania ได้ดีมาก แต่ผู้ ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากโรคนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้ ตัวยายังสามารถป้องกัน ได้ทั้งอาการ mania และอาการซึมเศร้า ยาอื่นๆ ที่ได้ผลดี ได้แก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin และ topiramate
3. สำหรับอาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และziprasidone
4. สิ่งสำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย ตัวผู้ป่วยเองก็ต้อง ดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
5. ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วงก่อน โรค กำเริบรุนแรงเพราะว่ามีโอกาส กลับไปเป็นซ้ำอีก ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มาก ที่สุด คือ 15-25 ปี กลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์แอคทีฟ”ต่อมา บางช่วงของการเจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เป็นมากๆอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
โรคนี้รักษาได้ ญาติควรนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยด่วน หากพบว่าอาการเริ่มเพิ่มชั้นความรุนแรง ปัจจุบัน มียาที่ใช้ปรับอารมณ์ให้คงที่ปกติ สามารถให้ผู้ป่วยดำเนินได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป และลดซึ่ง ความสูญเสียทางด้านหน้าที่การงาน และเงินทอง เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้
ที่มา www.kapook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น