วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ร่างกายในช่วงเวลาต่างๆ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา
ร่างกายในช่วงเวลาต่างๆ

เรารู้จักร่างกายของเราดีแค่ไหน รู้หรือไม่ว่าในช่วงเวลาต่างๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับการทำงานของร่างกายในส่วนต่างๆ ลองมาทำความเข้าใจ แล้วคุณจะได้ไม่ใช้ชีวิตแบบทรมานร่างกายตนเอง

เวลา ๐๑.๐๐ น. ถึง ๐๓.๐๐ น. 
เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อน

ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงนี้ ตับจะหลั่งสารเมลาโทนินเพื่อฆ่าเชื้อโรค 
ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากนี้ยังหลั่งสารเอนโดรฟินออกมาด้วย 
จึงไม่ควรกินอาหารในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือขจัดสารพิษในร่างกาย หน้าที่รองคือช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ และช่วยกระเพาะย่อยอาหารถ้ากินบ่อยๆจะทำให้ตับทำงานหนัก
อาหารบำรุงตับ คืออาหารที่ช่วยล้างพิษ เช่นงา เม็ดบัว น้ำผลไม้ และน้ำสะอาด

เวลา ๐๓.๐๐ น. ถึง ๕.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของปอด

จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นมาเพื่อสูดอากาศบิสุทธิ์ และรับแสงแดดยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำ ปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนมีอำนาจในตัว คนที่มีปัญหาเรื่องปอดจะไม่ค่อยตื่นเวลานี้
คนตื่นได้ตีสามถึงตีห้าแปลว่าปอดแข็งแรง อาหารบำรุงปอด คืออาหารจำพวกเบต้าแคโรทีน และวิตามินเอสูง เช่น ผักใบเขียว ส้ม น้ำผึ้ง หัวหอมใหญ่

เวลา ๐๕.๐๐ น. ถึง ๐๗.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่

ควรขับถ่ายอุจจาระ ทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า แต่คนเรามักจะไม่ตื่นในช่วงเวลานี้
ซึ่งเป็นเวลาที่ลำไส้ต้องบีบอุจจาระลง
...ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก
...ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่น ๒ แก้ว
...ถ้ายังไม่ถ่ายอีก ให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวโดยใช้น้ำ ๑ แก้ว น้ำผึ้ง ๑ ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว ๔ ถึง ๕ ผล
ทำน้ำดื่มจนกว่าจะถ่าย หรือ บริหารโดยการยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วทอง จนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง(คนที่ขับถ่ายยากต้องทานอาหารเช้า)
อาหารบำรุงลำไส้ใหญ่ คืออาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช

เวลา ๐๗.๐๐ น. ถึง ๐๙.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหารจะทำงาน ถ้านทานอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าเราไม่ทานอาหารเช้า อุจจาระจะถูกดูดกลับมาที่กระเพาะอาหาร กลิ่นตัวจะเหม็น ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอจะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย
อาหารบำรุงกระเพาะอาหาร คืออาหารที่มีพลังงาน และสารอาหารอย่างน้อย ๑ ใน ๔ หรือร้อยละ ๒๕ ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดทั้งวัน

เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๑.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของม้าม

ม้ามจะอยู่บริเวณชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเมล็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อย มักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ
ม้ามโตม้ามจะไปเบียดปอดทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย ถ้าม้ามชื้น อาหารและน้ำที่ทานเข้าไป จะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย
ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลานี้ ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยัโยงถึงริมฝีปาก ผู้ทั้พูดบ่อยๆ หรือพูดเก่งๆ ม้ามจะชื้นจึงควรพูดน้อย กินน้อย้ามจึงแข็งแรง
อาหารบำรุงม้าม คือ มันเทศแดง หรือเหลือง อาหารที่ทำจากหัวบุก

เวลา ๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของกล้ามเนื้อหัวใจ

หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ ควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้ เป็นช่วงของระบบหัวใจ หมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจ คนที่มีปัญหาเรื่องนี้ ดูที่อาการปวดไหล่ ไม่ได้แสดงอาการที่หน้าอกอย่างที่เข้าใจกัน
อาหารบำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ คือ กล้วย ส้ม มะเขือ เตย รากบัว อาหารที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เช่น ถั่วแดง และผลไม้สีแดง น้ำมันปลา วิตามินบีต่างๆ

เวลา ๑๓,๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก

ควรงดทานอาหารทุกประเภทเพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กมีห้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วิตามินซี โปรตีน เพื่อสร้างกรดอะมิโน สร้าเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลำไส้ยาวกว่าผู้ชาย ๑๑ ฟุต เพื่อให้ดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีลำไส้ยาวกว่า จึงมีกระดูกซี่โครงมากกว่าผู้ชาย ๑ คู่
อาหารบำรุงลำไส้เล็ก คือ อาหารไขมันต่ำ น้ำสะอาด

เวลา ๑๕.๐๐ น. ถึง ๑๗.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด ช่วงเวลานี้จึงควรำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกาย หรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง
ข้อควรระวัง.....
...ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามาก ไตจะวาย
...ถ้ามีโปตัสเซียมปนออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจวายด้วยการดื่มน้ำส้ม หรือน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม
การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ
อาหารบำรุงกระเพาะปัสสาวะ คือ ผลไม้ เช่น บิลเบอร์รี่ และดื่มน้ำสะอาดมากๆ

เวลา ๑๗.๐๐ น. ถึง ๑๙.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของไต

ควรทำจิตใจให้สดชื่น ผู้ใดมีอาการ่วงนอนช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อแสดงว่าอาการหนักมาก
...ไตซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดศร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม
...ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจำ
ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะอยู่มาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะซึมผ่านลำไส้เล็กไม่ได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลทำให้ไตทำงานหนักจึงกลายเป็นโรคไต ผู้ที่เป็นโรคไตสมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็หวัดง่าย
มีเสลดในลำคอ อาหารบำรุงไต คือ อาหารที่มีเกลือต่ำ รวมถึงสมุนไพรจีน เช่น ถั่งเฉ้า เม็ดบัว

เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ

ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือทำให้หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณ๊เส้นเลือดขอด ต้องดูแลเส้นเลือดหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าชุดสีเข้ม (ดำ เทา) แช่เท้าในน้ำอุ่น อาหารบำรุงเยื่อหุ้มหัวใจ คือ อาหารจำพวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมถึงวิตามินบีต่างๆ

เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๓.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น

จึงห้ามอาบน้ำเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ
อาหารบำรุงทำให้ร่างกายอบอุ่น คือ อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง โสม

เวลา ๒๓.๐๐ น. ถึง ๐๑.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี

ถุงน้ำดีเป็นถุงสำรองเก็นน้ำย่อยที่ออกจากตับ อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้นเป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีจะโยงถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียว หรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ
...ทางแก้ คืออย่าใส่ชุดนอนที่มีผ้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอนที่มำจากใยสังเคราะห์จะดูดน้ำในร่างกาย ควรสวมชุดผ้าฝ้ายดีที่สุด และควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน หรือก่อนเวลา ๒๓.๐๐ น.
อาหารบำรุงถุงน้ำดี คือ อาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เช่น
จากการวิจัยของคณะผู้ศึกษาในทางโภชนาการและอาหารกลุ่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาล LOMALINDA รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยใช้ตัวอย่างหลายพันคน มีการเจาะกระเพาะ เจาะเลือด เพื่อนำไปเข้า
ห้องวิจัย ได้ค้นพบว่านาฬิกาทางชีวภาพของมนุษย์ ( Biological Clock ) จะเป็นดังนี้คือ

๑. ตั้งแต่ ๐๔.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น. (เที่ยงวัน)
    เวลาของการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
๒. ตั้งแต่ ๑๒.๐๐ น. (เที่ยงวัน) ถึง ๒๐.๐๐ น.
๓. ตั้งแต่ ๒๐.๐๐ น. ถึง ๐๔.๐๐ น.
    ช่วงเวลาของการซ่อมแซมสิ่งสึกหรอและการเสริมสร้างพลังของร่างกาย
    จะเป็นช่วงเวลาของการย่อยอาหารของร่างกาย

ผลจากการวิจัยดังกล่าวได้มีการสรุปข้อควรปฏิบัติในเรื่องการรับประทานอาหารโดยมีข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
ก) คาร์โบโฮเดรต (แป้ง) และโปรตีน ใช้น้ำย่อยต่างชนิดกัน โดยน้ำย่อยของคาร์โบโฮเดรตจะเป็นด่าง น้ำย่อยของโปรตีนจะเป็นกรด ดังนั้นเมื่อรับประทานข้าวกับเนื้อสัตว์พร้อมกัน เช่นรับประทานข้าวหรือขนมปังคู่กับเนื้อไก่ หรือเนื้อวัว ร่างกายต้องใช้น้ำย่อยสองประเภท คือประเภทที่เป็นด่างสำหรับย่อยคาร์โบโฮเดรต และประเภทที่เป็นกรดสำหรับย่อยโปรตีน เมื่อน้ำย่อยออกมาพร้อมกันสองประเภทกรดก็จะบวกกับด่าง ซึ่งก็มีผลทำให้เป็นกลาง ผลที่ตามมาคือการย่อยอาหารไม่ละเอียด เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ซึ่งก็ย่อมไม่สามารถนำมาซ่อมแซมสิ่งสึกหรอหรือ เสริมพลังได้ การรับประทานคาร์โบโฮเดรตและโปรตีนพร้อมกันจึงผิดหลักโภชนาการเป็นอย่างยิ่ง
ข) ผลไม้จะมีกรดซึ่งสามารถจะย่อยตัวเองได้ง่าย แต่ขณะเดียวกันต้องระวังอย่ากินหลังอาหารทันที ต้องรออย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง มิฉะนั้นจะไม่สามารถย่อยได้เพราะน้ำย่อยไปย่อยอาหารหลัก ยิ่งถ้าการย่อยอาหารหลักมีสภาพน้ำย่อยเป็นกลางเพราะกินทั้งแป้งและโปรตีน ก็ทำให้ผลไม้ไม่สามารถย่อยได้จะเกิดการบูดเสีย ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ดังนั้นควรกินผลไม้ก่อนอาหารหนักเพราะย่อยง่ายกว่า
ค) การรับประทานอาหารโดยพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ ที่กล่าวมาคือ ข้อ ก) และ ข) รวมตลอดทั้งนาฬิกาของชีวะภาพของร่างกายมนุษย์ จึงน่าจะเป็นดังต่อไปนี้คือ
๑) มื้อเช้าซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาของการขับถ่ายของเสีย ไม่ควรจะรับประทานเพราะไม่ใช่ช่วงระยะเวลาของการย่อย จึงควรจะรับประทานแต่ผลไม้เพราะย่อยง่าย หรืออาหารประเภทนมเปรี้ยว ถ้าจะให้ดีหลังตื่นนอนควรจะดื่มน้ำประมาณ ๔ แก้ว ยิ่งเป็นน้ำอุ่นก็จะดียิ่งขึ้นเพราะจะมีผลช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
๒) มื้อกลางวันควรรับประทานคาร์โบโฮเดรต (แป้ง) และผัก ไม่ควรรับประทานโปรตีน ที่ต้องรับประทานคาร์โบโฮเดรต เพราะเป็นอาหารที่สร้างพลังให้ร่างกาย ผักนั้นมีวิตามินต่างๆ และมีผลช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น รวมทั้งมีแร่ธาตุ และสารอาหารที่ช่วยชะลอความชรา
๓) มื้อเย็นซึ่งควรรับประทานก่อนสองทุ่ม เพื่อจะให้อยู่ในช่วงระยะเวลาของการย่อยอาหาร ควรเป็นโปรตีนและผัก เพื่อจะนำไปสร้างส่วนสึกหรอของร่างกาย โปรตีนที่ดีที่สุดคือโปรตีนที่ย่อยง่ายเช่นปลา เป็นต้น เนื้อหมู และไก่ บริโภคแต่เพียงจำนวนจำกัด
ข้อสังเกตุ ผักรับประทานได้ทั้งมื้อเที่ยงและมื้อเย็น แต่ไม่มีแม้แต่มื้อเดียวที่รับประทานแป้งพร้อมกับโปรตีน
ข้อควรสังเกตุ คือ การรับประทานแป้งมากเกนไปจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ส่วนการรับประทานโปรตีนมากเกินไปจะเหลือตกค้างในร่างกาย โดยเฉพาะกรดยูริคซึ่งจะทำให้เกิดโรคบางประเภทได้ จำนวนอาหารที่รับประทานให้อยู่ในปริมาณพอสมควร จะต้องมีการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ โดย เฉพาะอย่างยิ่งการเดินเร็ว ๆ และสูดอากาศที่บริสุทธิ์ นอกเหนือจากข้างบนแล้ว การฝึกจิตให้มีความสงบ มีสมาธิ มองโลกในแง่ดี และมีวิธีคลายเครียดโดยใช้ปรัชญาทางศาสนา หรือโดยหลักการใดก็ตาม จะมีส่วนทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และที่สำคัญ จะต้องพักผ่อนหลับนอนได้สนิทอย่างน้อย ๖ – ๗ ชั่วโมง
การเข้าใจนาฬิกาของชีวภาพ และเข้าใจระบบการทำงานของร่างกายในส่วนของการย่อยอาหาร จะเป็นคู่มือสำคัญ ของการบำรุงรักษาสุขภาพเพื่อจะทำให้ร่างกายแข็งแรง เอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครับ และต่อสังคม ต่อไป
หมายเหตุ : มื้อกลางวันและมื้อเย็นอาจจะสลับกันได้เป็นครั้งคราว โดยกลางวันกินผักและโปรตีน ส่วนมื้อเย็น กินแป้งและผัก และมื้อเย็นที่ดีที่สุดน่าจะเป็นข้าวต้มกับผักดอง หรือผักบุ้งไฟแดง คะน้าไฟแดง คะน้าน้ำมันหอย ถั่วงอกผัดโดยไม่มีโปรตีน
ผลจากการกินแป้งในมื้อเย็นยังมีผลทำให้มีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และมีผลในการคลายความเครียด ทำให้หลับสนิทได้ดีขึ้น

ข้อสำคัญ โปรดจำไว้ว่าร่างกายต้องใช้ประมาณ ๗๐% ของพลังงานเพื่อการย่อยอาหาร ถ้ารับประทานอาหารให้พอเหมาะ น่าจะเป็นการดีที่สุด และไม่ควรรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่ร่างกายขับถ่าย และซ่อมแซมสิ่งสึกหรอของร่างกาย กล่าวคือช่วงเวลาระหว่าง ๐๔.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ควรรับประทานเฉพาะผลไม้และหลังเวลา ๒๐.๐๐ น. ไปแล้วควรงดรับประทานอาหาร

นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้วิจัยและค้นคว้าร่างกายของมนุษย์เราว่า ทำอะไรบ้างในแต่ละชั่วโมง
๐๑.๐๐ น. คนส่วนใหญ่จะนอนหลับ ร่างกายจะมีความรู้สึกไวต่อความเจ็บปวดมาก
๐๒.๐๐ น. นอกจากตับแล้ว ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะเคลื่อนไหวช้ามาก
๐๓.๐๐ น. ร่างกายทั้งหมดจะพักผ่อน กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ความดันจะต่ำ ชีพจรจะเต้นช้า การหายใจก็จะช้า
๐๔.๐๐ น. สมองได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงน้อยมาก ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตายไปในระยะเวลานี้
๐๕.๐๐ น. ไตจะไม่ทำหน้าที่กรอง เนื่องจากเราได้พักผ่อนมาระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น ในเวลาตื่นนอนอารมณ์จะรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษ
๐๖.๐๐ น. ความดันเลือดจะสูงขึ้น หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น
๐๗.๐๐ น. ภูมิต้านทานโรคในช่วงนี้จะดีมาก เพราะร่างกายได้พักผ่อนมาแล้ว
๐๘.๐๐ น. ตับจะทำหน้าที่ขับพิษออกจากร่างกาย ในช่วงนี้ไม่ควรดื่มสุรา
๐๙.๐๐ น. จิตใจ อารมณ์ การทำงานจะดีมากในช่วงนี้
๑๐.๐๐ น. เป็นช่วงที่ร่างกายและสุขภาพจะดีมาก เหมาะที่จะทำงาน
๑๑.๐๐ น. เป็นช่วงที่ขยันขันแข็งในการทำงาน ร่างกายยังไม่อ่อนเพลีย
๑๒.๐๐ น. ช่วงตอนที่จะหยุดงาน ทางที่ดีที่สุดอย่าเพิ่งรับประทานอาหาร ควรจะรอช้ากว่าไปอีกสักหน่อย แล้วทานเอาช่วงเวลาประมาณ ๑๒.๓๐ หรือ ๑๓.๐๐ น. ก็จะดี
๑๓.๐๐ น. ตับจะพักผ่อน เนื่องจากเวลาการทำงานที่ดีได้ผ่านไปแล้ว ร่างกายในช่วงนี้จะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย
๑๔.๐๐ น. เป็นช่วงระยะเวลาที่ร่างกายรู้สึกอืดอาด เชื่องช้าที่สุดในระยะหนึ่งของแต่ละวัน
๑๕.๐๐ น. ระบบต่างๆ ของร่างกายจะมีปฏิกิริยาที่ไวมาก สมรรถภาพของพละกำลังเริ่มฟื้นฟูขึ้น
๑๖.๐๐ น. ในกระแสเลือด จะมีน้ำตาลเพิ่มขึ้น แต่ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว
๑๗.๐๐ น. สมรรถภาพในการทำงานจะเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากนักกีฬาที่ออกกำลังกาย จะมีเรี่ยวแรงเพิ่มมากขึ้น
๑๘.๐๐ น. ความรู้สึกต่ออาการเจ็บปวดจะลดน้อยลง ขอให้เพิ่มการออกกำลังกาย
๑๙.๐๐ น. ความดันของเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น อารมณ์จะไม่ค่อยดีนัก มักจะเกิดงขึ้นได้ด้วยสาเหตุเล็กๆน้อยๆ
๒๐.๐๐ น. น้ำหนักตัวจะรู้สึกเพิ่มมากขึ้น สะท้อนออกถึงความผิดปกติอย่างรวดเร็ว
๒๑.๐๐ น. อารมณ์จะกลับเข้าสู่สภาพปกติ ความจำจะดีขึ้น สามารถคิดสิ่งต่างๆ ออกได้
๒๒.๐๐ น. ในกระแสโลหิต จะเต็มไปด้วยเม็ดเลือดขาว อุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำลง
๒๓.๐๐ น. ร่างกายตระเตรียมพักผ่อน เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอ
๒๔.๐๐ น. เข้าสู่ชั่วโมงแห่งการหลับไหล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น